วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่  1 พฤจิกายน 2559  ครั้งที่ 13
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน

วันนี้อาจารย์ให้เเต่นำเสนอคลิปวีดีโอที่ลงยูทูป เพื่อใช้เป็นสื่อในการสอนทำของเล่นวิทยาศาสตร์


กลุ่ม หลอดมหัศจรรย์



กลุ่ม คานดีดจากไม้ไอติม



กลุ่ม รถพลังงานลม



กลุ่ม ขวดน้ำนักขนของ

โดยอาจารย์ให้คำเเนะนำจากการทำวีดีโอว่าทุกกลุ่มควรจะมีสรุปขั้นตอนในตอนท้ายวีดีโออีกครั้งเพื่อทวนลำดับขั้นตอนให้เเก่เด็กได้เข้าใจ  
หลักการทำงานนั้น 
1.ต้องดูจุดประสงค์ว่าเราจะทำให้ใครดู เหมาะกับอายุเท่าไร 
2.มีกระบวนการเเละเนื้อหาต่างๆที่ชัดเจน 


         คลิปวีดีโอที่ทำในวันนี้จะเป็น สื่อที่จะทำให้เด็กนั้นได้เรียนรู้ภาษา ลำดับขั้นตอนต่างๆก็จะได้เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ การทำของเล่นนั้นสามารถได้อุปกรรณ์วัสดุอุปกรณ์อื่นได้ ทำให้เด็กได้เริ่มมีความคิดสร้างสรรค์ตามมา

โครงสร้างเเละขอบข่ายคำว่า
  • ร่างกาย ความสัมพันธ์เเละประสาทสัมผัสระหว่างกล้ามเนื้อ หรือเรียกว่า 1.การเคลื่อนไหว เช่น การใช่มื่อเขียน วิ่ง ก้าว กระโดด เป็นต้น 2.สุขภาพอนามัย 3.การเจริญเติบโต เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง
  • อารมณ์ 1.การเเสดงความรู้สึก 2.การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
  • สังคม 1.การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น 2.การช่วยเหลือตนเองได้
  • สติปัญญา 1.ภาษา 2.การคิด เชิงเหตุผล คิดเเก้ไขปัญหา 



หลังนั้นอาจารย์ก็ให้เเต่กลุ่มคิดแผนการสอนเเต่ละวัน โดยให้เชื่อมกับ ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
  •  ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
  • ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
  • ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
  • ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
  • ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
มาตรฐานวิทยาศาสตร์
  • สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
  • ชีวิตกับสิ่งเเวดล้อม
  • สาระเเละสมบัติของสาร
  • เเรงเเละการเคลื่อนที่
  • พลังงาน
  • กระบวนการเปลี่ยนแปลง
  • ดาราศาสตร์เเละดาราศาสตร์
  • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี



เเละยังสามารถบูรณาการอีกทั้ง 
คณิตศาสตร์มีมาตรฐานสาระดังนี้  
  •  สาระที่ จำนวนและการดำเนินการ
  •  สาระที่ การวัด
  • สาระที่ 3  เรขาคณิต
  • สาระที่ พีชคณิต
  • สาระที่ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 


ภาษา

  • ฟัง พูด อ่าน เขียน
สังคม
  • การมีปฎิสัมพันกับผู้อื่น
  • ช่วยเหลือตนเอง
ศิลปะ
  • ปั้น พับ ฉีก ปะ ตัด พิมพ์ เล่นสี ประดิษฐ์ วาด
พลศึกษา
  • การเจริญเติบโต
  • ชีวิตเเละครอบครัว
  • การเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย
  • ความปลอดภัยในชีวิต
คำศัพท์ 

สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต - Life processes of living.
ชีวิตกับสิ่งเเวดล้อม - Lives with the environment.
สาระเเละสมบัติของสาร - What were the properties of substances
เเรงเเละการเคลื่อนที่ - Labour were moving
พลังงาน -
energy
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำของเล่นที่กลุ่มเพื่อนนำเสนอมาดัดเเปลงเป็นสิ่งใหม่
  • สามารถออกเเบบเเผนกิจกรรมให้น่าสนใจเเละหลากหลาย
 ประเมินตนเอง
  • จดบันทึก ปรุงเปลี่ยนเเก้ไขสิ่งที่ขาด ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนตั้งใจฟัง ช่วยตอบคำถาม ตั้งใจร่วมกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
  • พูดน้ำเสียงชัดเจน กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น