วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ครั้งที่ 17
เวลาเรียน 11.00-14.30 น
(เรียนชดเชย)
เนื้อหาที่เรียน

  • วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอการสอนในหน่วยอากาศ หน่วยยานพาหนะ หน่วยดอกไม้
หน่วย อากาศ
วันศุกร์ คุณสมบัติของอากาศ
ขั้นนำ ครูพาเด็กร้องเพลง ลมพัด ครูถามเด็กว่าในเนื้อเพลงพูดถึงอะไร
ขั้นสอน ครูทดลองโดยการใช้มือโบกมือไปมา จะทำให้รู้สึกเย็น ทำให้ลมนั้นเคลื่อนที่มาปะทะกับตัวเรา ลมเรียกอีกอย่างว่าอากาศ การทดลองนี้ทำให้เด็กทราบว่าอากาศมีตัวตนอยู่จริง หลังจากนั้นครูให้เด็กทำกิจกรรมเป่าลูกโป่ง เเบ่งกลุ่มเด็กทำกิจกรรมเป็นฐานๆ 
ฐานที่ 1 เรียนรู้เรื่อง ลมมาจากไหน
ฐานที่ 2 เรียนรู้เรื่อง คุณสบัติของอากาศ เป็นต้น




หน่วย ยานพาหนะ
วันพุธ ปัจจัยการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ
ขั้นนำ ครูนำวีดีโอหรือภาพที่เกี่ยวกับรถหลายๆไปเติมน้ำมันที่ปั๊ม ครูถามว่าเห็นอะไรจากในวีดีโอหรือในภาพบ้าง ครูถามต่ออีกว่านอกจากรถเเล้วเด็กคิดว่ามียานพาหนะชนิดไหนที่ใช้น้ำมันอีก
ขั้นสอน ครูอิบายให้ฟังว่าเด็กว่านอกจากน้ำมันเเล้วมีเชื้อเพลิงชนิดไหนอีกไหมที่ทำให้ยานพาหนะเคลื่อนเคลื่อนที่ได้ ครูถามเด็กต่อว่า ไหนใครเคยขึ้น bts บ้างน้าา เเล้ว bts ใช้เชื้อเพลิงอะไรในการเคลื่อนที่นะ(ไฟฟ้า)  ไหนใครเคยขึ้นจักรยานบ้างน้าา เเล้วจักรยานใช้เชื้อเพลิงอะไรในการเคลื่อนที่(สิ่งมีชีวิต) ครูจจะเเนะนำว่านอกจากนี้เเล้วยังมี พลังงานเเสงอาทิตย์ที่ทำให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ได้ (นำรูปแผงโซล่าเซลมาให้เด็กดู) ครูเข้าสู้กิจกรรมให้เด็กเเต่ละคนนำรูปยานพาหนะเเต่ละชนิดมาติดตามตาราง







หน่วย ดอกไม้
วันศุกร์ การแปรรูปดอกไม้
ขั้นนำ ครูเล่านิทานเกี่ยวกับการเเปรรูปดอกไม้ ครูถามเด็กว่าในนิทานมีการแปรรูดอกไม้ชนิดไหนบ้าง นอกจากในนิทานมีการแปรรูปชนิดไหนอีกไหม
ขั้นสอน ครูพาเด็กทำกิจกรรมโดยนำดอกไม้เเต่ละชนิดมาคั้นเเล้วดูว่าเเต่ละชนิดเป็นสีอะไร ในการทำกิจกรรมควรทำเป็นฐาน


คำศัพท์
transform - แปรรูป
movement - การเคลื่อนที่
wind - ลม
property - คุณสมบัติ
fuel - เชื้อเพลิง
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำแผนการสอนเเต่วันมาปรับใช้ได้ในเเต่ละหน่วย เพราะเเต่ละหน่วยสอนคล้อยๆกัน
ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนสอนเพราะว่าเราต้องนำเเต่ละวันที่เพื่อนสอนไปใช้สอนเด็ก
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  •  อาจารย์มีข้อเสนอในการสอน มีการถามเพื่อทวนว่านักศึกษาเข้าใจในกิจกรรมรึเปล่า เข้าสอนตรงเวลา มีการยกตัวอย่างประกอบการสอน มีสอดเเทรกคุณธรรมให้นักศึกษาอยู่เสมอ

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ครั้งที่ 16
เวลาเรียน 08.30-12.30 น

เนื้อหาที่เรียน

  • วันนี้อาจารย์ให้เเต่กลุ่มคิดการสอน จากของเล่นวิทยาศาสตร์กลุ่ม ลองให้คิดว่าของเล่นเราถ้าเปรียบของในชีวิตประจำวันจะเปรียบอะไร ของเล่นกลุ่มเราคือหลอดมหัศจรรย์ เปรียบเหมือนของในชีวิจประจำวันคือ สกายทูป
     หลอดมหัศจรรย์
        
 สกายทูป
หลังจากนั้นก็สอนเด็กตามขั้นตามดังนี้
  1. ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ที่ครูเตรียม เเล้วถามเด็กว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำอะไรได้บ้าง เด็กก็จะตอบมา ครูไม่ควรที่จะไปขัดเเย้งเด็ก เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง
  2. กำหนดปัญหา ทำยังไงที่จะมีคนมาสนใจสิ่งของนี้นะ
  3. ครูลองข้อมูลในอินเตอร์เน็ต(วีดีโอที่เราทำไว้ในยูทูป ชื่อว่าหลอดมหัศจรรย์) ให้เด็กสังเกตดูว่าในคลิปทำอะไร มีอุปกรณ์ ขั้นตอนอย่างไร
  4. เมื่อดูเสร็จให้เด๋กทบทวน มีอุปกรณ์ ขั้นตอนอย่างไร
  5. ครูสาธิตการทำของเล่น
  6. เเบ่งกลุ่ม ให้ตัวเเทนเด็กเเต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์ไปลงมือทำ
  7. เมื่อทำเสร็จทดลองเล่น เเล้วตั้งสมมุติฐายว่า เด็กคิดว่ามีวิธีเล่นอย่างไร ลองเล่นเเล้วจะเกิดอะไรขึ้น
  8. เเล้วลองดูสิว่าของเด็กคนไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน โดยครูตั้งเกณฑ์ว่าถ้าครูนับ 1-5 ลูกบอลของใครยังไม่ตก ของเล่นคนนั้นใช้ได้เลย 
  9. ครูสรุปผล ทำไมลูกบอลถึงลอยได้ เพราะว่าลมที่เราเป่ามันเเรง จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ ซึ่งลมที่กล่าวมานั้นสามารถนำมาใช้ทำสกายทูป ในชีวิตประจำวันที่เราเห็นนั่นเอง
สรุปกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5 ดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหา
ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน
ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน

คำศัพท์

Compare - เปรียบเทียบ
The process - กระบวนการ
Data analysis - วิเคราะห์ข้อมูล
Scope - ขอบเขต
Hypothesis - สมมุติฐาน
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถออกเเบบเเผนการสอนให้เหมาะสมกับกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังอาจารย์ ตั้งใจฟังเพื่อนพูดหรือนำเสนออาจารย์
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนตั้งใจเรียน ร่วมตอบโต้สนทนากับอาจารย์ระหว่างที่เรียน
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์สอดเเทรกคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำอยู่เสมอ

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่  15 พฤศจิกายน 2559  ครั้งที่ 15
เวลาเรียน 08.30-12.30 น

เนื้อหาที่เรียน



กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้เเต่ละกลุ่มลองสอนเเต่ละหน่วย

หน่วย ผลไม้
วันจันทร์
ขั้นนำ อ่านคำคล้องจ้องผลไม้ เเล้วถามเด็กว่า นอกจากคำคล้องจองเเล้วเด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้าง
ขั้นสอน นำผลไม้มาให้เด็กสังเกตว่าผลไม้แต่ละชนิดมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เเล้วก็เเยกประเภทว่าผลไม้ชนิดไหนเป็นผลรวม ผลเดี่ยว (เกณฑ์ที่ใช้คือผลรวม ที่เหลือคือไม่ใช่ผลรวม) ผลไม้ที่เพื่อนนำมาสอนในวันนี้มี องุ่น ลองกอง ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง มะม่วง





หน่วยไข่
วันอังคาร
ขั้นนำ จิ๊กซอว์รูปไข่ ครูจะมีวิธีเเจกจิ๊กซอว์โดยการที่บอกเด็กๆว่าหลับตาเเล้วนั่งให้เรียบร้อยที่สุด ครูก็ดูว่าเด็กคนไหนนั่งเรียบร้อย ก็นำจิ๊กซอว์นั้นไปวางไว้ตรงหน้าเด็กคนนั้น เเล้วให้เด็กลืมตา เเล้วให้เด็กคนที่ได้จิ๊กซอว์นำมาต่อเป็นรูปด้านหน้าทีละคน
ขั้นสอน หลังนั้นครูก็นำไข่ไก่ ไข่เป็ดมาให้เด็กสังเกต สี ขนาด รูปทรง กลิ่น ส่วนประกอบ ว่ามีความเหมือนเเละต่างกันอย่างไร เมื่อเด็กตอบครูก็จดบันทึกลงในตาราง เมื่อได้ข้อมูลจากการสังเกต ครูก็นำเปรียบเทียบข้อมูลความเหมือนความต่างในเวนน์ไดอะแกรม




หน่วยต้นไม้
วันพุธ
ขั้นนำ ครูพาเด็กๆอ่านอ่านคำคล้องจ้อง ที่เกี่ยวกับปัจจัยการดำรงชีวิตของต้นไม้ หลังจากนั้นครูถามเด็กว่านอกจากในคำคล้องจ้องเด็กๆมีวิธีดูเเลต้นไม้อย่างอื่นอีกไหมจ้ะ
ขั้นสอน จากนั้นครูสาธิตการปลูกถั่วงอกให้เด็กๆดู โดยที่ครูจะต้องปลูกถั่วงอก 3 ถ้วย โดยถ้วยเเรกจะลองนำไปวางที่ไม่มีเเสงเเละรดน้ำทุกวัน ถ้วย 2 นำไปวางไว้ที่มีเเสงเเดดจัดเเละรดน้ำทุกวัน ถ้วย 3 นำไปวางไว้ที่เเสงเเดดอ่อน ไม่รดน้ำ เมื่อครบ 5 วัน นำถั่วงอก 3 ถ้วยมาเปรียบเทียบว่ามีความเเตกต่างอย่างไร เเล้วให้เด็กลงมือทำ เเล้วสังเกตการเปลี่ยนเเปลงของเเต่ละคน







หน่วยปลา
วันพฤหัสบดี
ขั้นนำ อ่านคำคล้องจ้องปลา 
ขั้นสอน ลองให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้ เด็กก็ตอบว่าปลา แป้ง ครูถามต้องว่าเด็กๆคิดว่าปลาจำไปทำอะไรได้บ้าง เเล้วถามเด็กว่า รู้ไหมว่าวันนี้เราจะมาทำอะไร ครูพาเด็กอ่านส่วนผสมของการทอดปลา อุปกรณ์(เเนะนำอุปกรณ์ของจริง) อ่านขั้นตอนการทอดปลา หลังจากนั้นครูสาธิตการทอดปลา โดยขอตัวเเทนเด็กเพื่อมาสาธิตการทอดปลากับครู หลังจากนั้นครูเเบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กเเต่ละคนลงมือทำ โดยมีฐานดังนี้
ฐานที่ 1 วาดรูปวงกลมเพื่อที่จะมาทำเป็นกระดาษชับน้ำมัน
ฐานที่ 2 ตัดกระดาษที่วาดเป็นรูปวงกลม
ฐานที่ 3 หั่นปลาเเบ่งออกเป็น 2 ชิ้น โดยจะต้องมีผ้าเปียกไว้สำหรับให้เด็กเช็ดมือ
ฐานที่ 4 นำปลาที่หั่นมาตักเเป้งทอดใส่ปลา เเล้วคลุกให้เข้ากัน
ฐานที่ 5 นำปลาที่คลุกเเป้งใส่ถ้วยใหญ่รวมกัน เพื่อที่จะนำไปทอด
ในขั้นนี้ครูนำกระบวนการวิทยาศาสตร์มาสอนเด็กโดยตั้งประเด็นปัญหาถามเด็กว่า ทำไงถึงกินปลาได้ 
ตั้งสมมุติฐาน ถ้าเทปลาลงในกะทะจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเสร็จบอกว่าเดี๋ยวลองมาพิสูจน์กัน เด็กๆลองสังเกตดูนะ ในขณะที่ทอดเมื่อปลาเริ่มเปลี่ยนสี กลิ่น เนื้อ ครูถามเด็กๆว่าไหนลองบอกครูสิเด็กอะไรบ้างจากปลาที่เราทอด ถ้าปลาเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเเสดงว่าสุกเเล้ว เพราะว่าคสามร้อนจากไฟทำให้น้ำร้อนจึงทำให้ปลาเเละแป้งสุก

คำศัพท์

cooking - การทำอาหาร
fried - ทอด
observe - สังเกต
bean sprouts - ถั่วงอก
the ingredients - ส่วนผสม

การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำแผนการสอนเเต่วันมาปรับใช้ได้ในเเต่ละหน่วย เพราะเเต่ละหน่วยสอนคล้อยๆกัน
ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนสอนเพราะว่าเราต้องนำเเต่ละวันที่เพื่อนสอนไปใช้สอนเด็ก
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  •  อาจารย์มีข้อเสนอในการสอน ปรับเปลี่ยนคำพูดของเราให้เหมาะกับเด็กเพื่อที่เด็กจะเข้าใจง่ายขึ้นและมีการยกตัวอย่างประกอบการสอน มีสอดเเทรกคุณธรรมให้นักศึกษาอยู่เสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่  8 พฤศจิกายน 2559  ครั้งที่ 14
เวลาเรียน 08.30-12.30 น

เนื้อหาที่เรียน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคลิปวิดีโอที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ขวดน้ำนักขนของ

คานดีดจากไม้ไอติม

หลอดมหัศจรรย์


  • จากนั้นอาจารย์ให้นั่งตามกลุ่ม 5 คน ให้คิดวิธีการสอนวันจันทร์ถึงศุกร์ ดังนี้
  • หน่วยต้นไม้
  • หน่วยปลา
  • หน่วยอากาศ
  • หน่วยผลไม้
  • หน่วยไข่
  • หน่วยดอกไม้
  • หน่วยยานพาหนะ
กล่มดิฉัน หน่วยปลา
  1. วันจันทร์ สอนประเภทโดยใช้เพลง
  2. วันอังคาร สอนลักษณะใช้ปริศนาคำทาย
  3. วันพุธ สอนปัจจัยการดำรงชีวิตใช้จิ๊กซอล
  4. วันพฤหัสบดี สอนประโยชน์ใช้คำคล้องจอง
  5. วันศุกร์ สอนด้วยนิทาน
  •        อาจารย์แจกรูปแบบตารางการเขียนแผนให้คนละ 1 แผ่น
  • จากนั้นอาจารย์ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมาจับฉลาก กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ แผนการสอนของวันพฤหสับดี 
คำศัพท์ 

Teaching plan - แผนการสอน
objective - วัตถุประสงค์
significant experience - ประสบการณ์สำคัญ
Learning activities - กิจกรรมการเรียนรู้
integration - บูรณาการ

การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำวิธีการสอนเเต่วันไปใช้สอนเด็กได้
  • สามารถนำเเผนกราสอนไปใช้กับหน่วยอื่นๆได้อาจะปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน
ประเมินตนเอง
  • เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนๆตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  •  อาจารย์ตั้งใจสอนและมีการยกตัวอย่างประกอบการสอน

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่  1 พฤจิกายน 2559  ครั้งที่ 13
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน

วันนี้อาจารย์ให้เเต่นำเสนอคลิปวีดีโอที่ลงยูทูป เพื่อใช้เป็นสื่อในการสอนทำของเล่นวิทยาศาสตร์


กลุ่ม หลอดมหัศจรรย์



กลุ่ม คานดีดจากไม้ไอติม



กลุ่ม รถพลังงานลม



กลุ่ม ขวดน้ำนักขนของ

โดยอาจารย์ให้คำเเนะนำจากการทำวีดีโอว่าทุกกลุ่มควรจะมีสรุปขั้นตอนในตอนท้ายวีดีโออีกครั้งเพื่อทวนลำดับขั้นตอนให้เเก่เด็กได้เข้าใจ  
หลักการทำงานนั้น 
1.ต้องดูจุดประสงค์ว่าเราจะทำให้ใครดู เหมาะกับอายุเท่าไร 
2.มีกระบวนการเเละเนื้อหาต่างๆที่ชัดเจน 


         คลิปวีดีโอที่ทำในวันนี้จะเป็น สื่อที่จะทำให้เด็กนั้นได้เรียนรู้ภาษา ลำดับขั้นตอนต่างๆก็จะได้เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ การทำของเล่นนั้นสามารถได้อุปกรรณ์วัสดุอุปกรณ์อื่นได้ ทำให้เด็กได้เริ่มมีความคิดสร้างสรรค์ตามมา

โครงสร้างเเละขอบข่ายคำว่า
  • ร่างกาย ความสัมพันธ์เเละประสาทสัมผัสระหว่างกล้ามเนื้อ หรือเรียกว่า 1.การเคลื่อนไหว เช่น การใช่มื่อเขียน วิ่ง ก้าว กระโดด เป็นต้น 2.สุขภาพอนามัย 3.การเจริญเติบโต เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง
  • อารมณ์ 1.การเเสดงความรู้สึก 2.การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
  • สังคม 1.การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น 2.การช่วยเหลือตนเองได้
  • สติปัญญา 1.ภาษา 2.การคิด เชิงเหตุผล คิดเเก้ไขปัญหา 



หลังนั้นอาจารย์ก็ให้เเต่กลุ่มคิดแผนการสอนเเต่ละวัน โดยให้เชื่อมกับ ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
  •  ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
  • ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
  • ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
  • ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
  • ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
มาตรฐานวิทยาศาสตร์
  • สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
  • ชีวิตกับสิ่งเเวดล้อม
  • สาระเเละสมบัติของสาร
  • เเรงเเละการเคลื่อนที่
  • พลังงาน
  • กระบวนการเปลี่ยนแปลง
  • ดาราศาสตร์เเละดาราศาสตร์
  • ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี



เเละยังสามารถบูรณาการอีกทั้ง 
คณิตศาสตร์มีมาตรฐานสาระดังนี้  
  •  สาระที่ จำนวนและการดำเนินการ
  •  สาระที่ การวัด
  • สาระที่ 3  เรขาคณิต
  • สาระที่ พีชคณิต
  • สาระที่ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 


ภาษา

  • ฟัง พูด อ่าน เขียน
สังคม
  • การมีปฎิสัมพันกับผู้อื่น
  • ช่วยเหลือตนเอง
ศิลปะ
  • ปั้น พับ ฉีก ปะ ตัด พิมพ์ เล่นสี ประดิษฐ์ วาด
พลศึกษา
  • การเจริญเติบโต
  • ชีวิตเเละครอบครัว
  • การเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย
  • ความปลอดภัยในชีวิต
คำศัพท์ 

สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต - Life processes of living.
ชีวิตกับสิ่งเเวดล้อม - Lives with the environment.
สาระเเละสมบัติของสาร - What were the properties of substances
เเรงเเละการเคลื่อนที่ - Labour were moving
พลังงาน -
energy
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำของเล่นที่กลุ่มเพื่อนนำเสนอมาดัดเเปลงเป็นสิ่งใหม่
  • สามารถออกเเบบเเผนกิจกรรมให้น่าสนใจเเละหลากหลาย
 ประเมินตนเอง
  • จดบันทึก ปรุงเปลี่ยนเเก้ไขสิ่งที่ขาด ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนตั้งใจฟัง ช่วยตอบคำถาม ตั้งใจร่วมกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
  • พูดน้ำเสียงชัดเจน กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย