วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความ
      สรุปแล้ว STEM กำเนิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้ง 4 ด้าน
ของเด็กให้มีความพร้อมที่จะก้าวเข้าไปสู่การพัฒนาความรู้ในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการ
เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในสังคมเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นการต่อยอดโอกาสในการ
เรียนรู้ หรือการทำงานของประชากรในอนาคตต่อไป (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 5)
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
      การจัดการศึกษาแบบ “STEM” นับว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย ซึ่งครูหลายคนอาจ
มองว่าเป็นสิ่งยาก
ในการจัดการเรียนการสอน เพราะมีการนำเอาหลักการและทฤษฎีของวิชา
แขนงต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้หลายวิชา แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย
ได้มีการแทรกสาระของ “STEM” เข้าไปในกิจกรรมประจำวันอยู่แล้ว เพียงแต่ครูส่วนใหญ่ไม่ได้
มีการเน้นหรือแบ่งสัดส่วนของการสอนเป็นรายวิชาที่ชัดเจน ซึ่งครูสามารถที่จะบูรณาการ
“STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตาม
หน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย  จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น  เพราะ
การศึกษาแบบ  “STEM”  เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียน
แบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ ทำให้
เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจใน
วิ
ทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น                      
      ดังนั้น การบูรณาการเรื่อง “STEM” สู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่เรื่องยาก 
เพียงแค่ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วกำหนดปัญหาขึ้นมาให้เด็กได้ฝึกฝน
การแก้ปัญหา เป็นการกระตุ้นให้เด็ก
ได้คิด ได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย หากผลของ
การทดลองหรือการแก้ปัญหาที่เด็กค้นพบนั้น ยังไม่ถูกต้องตามที่ครูกำหนดไว้ ครูก็ควรให้เด็ก
ได้ทดลองหรือปฏิบัติซ้ำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง โดยทั้งนี้ครูอาจแนะนำความรู้เพิ่มเติมให้แก่เด็ก
เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนั้นครูยังสามารถนำ  “STEM”  มาบูรณาการ
กับทักษะในด้านอื่น ๆ ได้อีก  เช่น การจัดการศึกษาแบบ STEAM Education” ที่มีการนำ 
“STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “
Art” เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ 
และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ “STEM Education” จึงเป็นการศึกษาที่เหมาะกับการเรียนการสอนของเด็กยุค
ปัจจุบันเป็นอย่างมากด้วยเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่ และเป็นการบูรณาการสาระวิชาแขนงต่าง ๆ 
เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จึงไม่น่าแปลกใจที่ “STEM Education” จะเป็นการศึกษากระแสใหม่
ที่กำลังมาแรงของวงการการศึกษาในบ้านเรา และหากท่านใดสนใจที่จะศึกษารายละเอียดของ 
“STEM Education” ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถลงชื่อสมัครเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
หลักสูตรการจัดกิจกรรมบูรณาการ “STEM” สำหรับเด็กปฐมวัย โดย ผศ.ดร. ชลาธิป สมาหิโต 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น