วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 27 กันยายน 2559  ครั้งที่ 8
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
**สอบกลางภาค**
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 20 กันยายน 2559  ครั้งที่ 7
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
  • ฝึกคัดอักษรตัวกลมหัวเหลี่ยม


หลังจากนั้นนำเสนอของเล่นเเต่ละคน เช่น วงล้อหมุน เรียนรู้เรื่องสี พลังงาน ว่าว เเตรจากขวด เเตรจากหลอดเรื่องรู้เรื่องอากาศ ของเล่นการเเยกตัวน้ำกับน้ำมัน เรียนรู้เรื่องสาร จากนั้นก็นำเสนองานกลุ่ม
กล่องผีสิง เรียนเรื่องเเสงที่กระทบกับวัตถุ เเละก็จะสะท้อนเข้าตา

กล้องส่อง 

กล้องส่องสะท้อนกลับ

นี่คือภาพสามมิติ
ที่มาของการเกิดน้ำพุคือ เมื่อน้ำไหลจากที่สูงผ่าช่องเล็กๆก็จะทำให้เกิดเเรงดันน้ำให้พุ่งขึ้น

การทดลอง เมื่อใสน้ำลงในสาย เเล้วถือกรวยอยู่ในระดับเดียวกัน น้ำก็จะเท่ากัน เเต่ถ้ายกข้างใดข้างหนึ่งขึ้น น้ำก็ยังอยู่ในระดับเดียวกัน

กิจกรรม กระดาษบาน 

พับกระดาษ 2 ครั้ง เเล้วตัดเป็นรูปดอกไม้ 

เเล้วพับกลีบดอก นำไปลอยน้ำ


ผลปรากฎว่ากระดาษที่เราพับเมื่อโดนน้ำจะค่อยๆคลี่ออกที่ละเล็กละน้อย
คือครูสามารถนำกิจกรรมี้ไปตั้งเป็นปัญหาว่าทำไมกระดาษถึงบานเมื่อลอยในน้ำ สมมุติฐานเมื่อโดนน้ำเเล้วกระดาษบานไหม เเล้วให้เด็กๆสังเกต สรุปผลร่วมกัน

คำศัพท์

สรุปผล - conclude
กลีบดอก - leaves
กรวย - funnel
ปัญหา - issue
สังเกต - observe
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในหน่อยอื่นๆได้
  • สามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับวิทยาศาสตร์ 
  • เขียนเเผนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ทำของเล่นเพื่อนให้เกี่ยววิทยาศาสตร์
 ประเมินตนเอง
  • เข้าใจในเนื้อหาการสอน หลักการ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนตั้งใจฟัง เเละซักถามตอบโต้กับอาจาย์อยู่ตลอดเวลา
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์พูดเข้าใจ ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆ ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันที่ 13 กันยายน 2559  ครั้งที่ 6
เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน


ฝึกคัดอักษรตัวกลมหัวเหลี่ยม

เเนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์
  • การเปลี่ยนแปลง
  • ความเเตกต่าง
  • การปรับตัว
  • ความสมดุล
  • การพึ่งพากันเเละกัน
บูรณาการสอนเเบบ STEM Education (สะเต็มศึกษา)
Science
การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ


เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ


ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
Technology
วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต


ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบมีดกรรไกร


กบเหลาดินสอ เป็นต้น
Engineering
ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
Mathematics
 •วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)


เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ 


รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ
ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น
การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์
ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ 
เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 
STEAM Education
STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”  
เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น










ตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์ของรุ่พี่ที่ทำไว้
สื่อเรื่อง เเสง สี การเห็นภาพซ้อน ภาพมิติต่างๆ



 


คำศัพท์ 

ของเล่นวิทยาศาสตร์ - Science Toys
เเสง - light
สี - color
การเห็นภาพซ้อน - The diplopia
ภาพมิติ - dimensional image

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับวิทยาศาสตร์ มาบูรณาการกับวิธีการเเบบสะเต็ม
  • เขียนเเผนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ทำของเล่นเพื่อนให้เกี่ยงวิทยาศาสตร์
 ประเมินตนเอง
  • เข้าใจในเนื้อหาการสอน หลักการ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนตั้งใจฟัง เเละซักถามตอบโต้กับอาจาย์อยู่ตลอดเวลา
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์พูดเข้าใจ มีการยกตัวอย่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ให้เชื่อยโยงกับการสอนเด็กปฐมวัย ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆ ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความ
      สรุปแล้ว STEM กำเนิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้ง 4 ด้าน
ของเด็กให้มีความพร้อมที่จะก้าวเข้าไปสู่การพัฒนาความรู้ในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการ
เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในสังคมเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นการต่อยอดโอกาสในการ
เรียนรู้ หรือการทำงานของประชากรในอนาคตต่อไป (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 5)
“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
      การจัดการศึกษาแบบ “STEM” นับว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย ซึ่งครูหลายคนอาจ
มองว่าเป็นสิ่งยาก
ในการจัดการเรียนการสอน เพราะมีการนำเอาหลักการและทฤษฎีของวิชา
แขนงต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้หลายวิชา แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเรียนการสอนในระดับปฐมวัย
ได้มีการแทรกสาระของ “STEM” เข้าไปในกิจกรรมประจำวันอยู่แล้ว เพียงแต่ครูส่วนใหญ่ไม่ได้
มีการเน้นหรือแบ่งสัดส่วนของการสอนเป็นรายวิชาที่ชัดเจน ซึ่งครูสามารถที่จะบูรณาการ
“STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตาม
หน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย  จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น  เพราะ
การศึกษาแบบ  “STEM”  เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียน
แบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ ทำให้
เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจใน
วิ
ทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น                      
      ดังนั้น การบูรณาการเรื่อง “STEM” สู่การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยจึงไม่ใช่เรื่องยาก 
เพียงแค่ครูจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วกำหนดปัญหาขึ้นมาให้เด็กได้ฝึกฝน
การแก้ปัญหา เป็นการกระตุ้นให้เด็ก
ได้คิด ได้แสดงความสามารถที่หลากหลาย หากผลของ
การทดลองหรือการแก้ปัญหาที่เด็กค้นพบนั้น ยังไม่ถูกต้องตามที่ครูกำหนดไว้ ครูก็ควรให้เด็ก
ได้ทดลองหรือปฏิบัติซ้ำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง โดยทั้งนี้ครูอาจแนะนำความรู้เพิ่มเติมให้แก่เด็ก
เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น  นอกจากนั้นครูยังสามารถนำ  “STEM”  มาบูรณาการ
กับทักษะในด้านอื่น ๆ ได้อีก  เช่น การจัดการศึกษาแบบ STEAM Education” ที่มีการนำ 
“STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “
Art” เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ 
และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
ด้วยเหตุนี้ “STEM Education” จึงเป็นการศึกษาที่เหมาะกับการเรียนการสอนของเด็กยุค
ปัจจุบันเป็นอย่างมากด้วยเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่ และเป็นการบูรณาการสาระวิชาแขนงต่าง ๆ 
เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จึงไม่น่าแปลกใจที่ “STEM Education” จะเป็นการศึกษากระแสใหม่
ที่กำลังมาแรงของวงการการศึกษาในบ้านเรา และหากท่านใดสนใจที่จะศึกษารายละเอียดของ 
“STEM Education” ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถลงชื่อสมัครเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ
หลักสูตรการจัดกิจกรรมบูรณาการ “STEM” สำหรับเด็กปฐมวัย โดย ผศ.ดร. ชลาธิป สมาหิโต 

สรุปงานวิจัย



การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย สมคิด ศรไชย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความมุ่งหมายของวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและหลายด้านที่วัดก่อนหลังการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของการวิจัย
 ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดเหตุผล รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้วิจัย
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย เขตบางละมุง ชลบุรี

ระยะเวลาในการทดลอง
ใช้เวลา สัปดาห์ สัปดาห์ละ วัน วันละ 20 นาที ช่วงเวลา 9.00 - 9.20 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2556โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
2.การคิดเชิงเหตุผล หมายถึง การรับรู้และเข้าใจของเด็กปฐมวัยที่ต้องอาศัยข้อมูล หลักการประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาข้อสรุปถึงสิ่งที่ไม่เคยได้รับรู้หรือยังไม่มีประสบการณ์มาก่อนซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการคิดเชิงเหตุผลตลอดจนการหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ โดยจำแนกออกเป็น ด้าน
2.1 ด้านการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถจำแนกประเภทแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องโดยยึด โครงสร้าง หน้าที่ รูปร่าง ลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจำแนกในการจัดกลุ่มนั้นๆ ซึ่งมีทั้งจำแนกประเภทเป็นภาษาและจำแนกประเภทเป็นตัวเลขและเป็นรูปภาพที่กำหนดให้    
2.2 ด้านการจัดประเภท หมายถึง การจัดประเภท ที่เป็นแบบทดสอบที่ให้หาสิ่งที่เป็นพวกเดียวกันกับสิ่งที่กำหนดให้ที่นิยมใช้กันคือโจทย์จะกำหนดสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันนั้นมีทั้งแบบที่เป็นภาษาและภาพ
2.3 ด้านอนุกรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลกันและให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้ 
3.การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดประสบการณ์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสารทสัมผัสทั้ง เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุและเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของสิ่งต่างๆ จากการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ตามความเข้าใจของตนเองและใช้คำถามเชื่อมโยงให้เด็กเกิดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนก ด้านจัดประเภท ด้านอนุกรม ระหว่างการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลองร่วมกัน
  • ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร แล้วลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองโดยเด็กหยิบจับสัมผัสเห็นจากเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง
  • ขั้นสรุป เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่โดยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
2.แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการทดลอง
   จากผลการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองเด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์จำแนกบอกรายละเอียดความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์ รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสำรวจ สังเกต สืบค้น และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทำการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเองแล้วเด็กร่วมกันสรุป

ศึกษาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Somkid_S.pdf